วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แบ่งปันจ้า มันเป็นเว็บเพจที่เค้าชอบดูมากนะ

สดท้ายนี้แล้ว  เพื่อนๆ ทุกคนก็คงมีรสนิยม  หรือเทรนการแต่งตัวแตกต่างกันไปตาม ความชอบนะ
แต่ฉันมีเพจหนึ่งมี่ฉันชอบมาก  แล้วก็มีหนังสืออยากแบ่งปันให้เพื่อนนะ 
" นิยามของไอดอลฉัน "

http://www.cheeze-magaz
'STYLE IS A WAY TO SAY WHO YOU ARE WITHOUT HAVING TO SPEAK.'
'สไตล์' คือสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็น 'ตัวตนของคุณ' เปรียบได้ดั่ง 'ลายเซ็นหรือลายมือ' ซึ่งแต่ละคนก็มีไม่เหมือนกัน ข้อนี้เชื่อว่าหลายคนคงรู้กันดี หากแต่การหาสไตล์ที่แท้จริงให้ 'เหมาะกับตัวเองด้วยตัวเอง' นี่สิยากกว่า ซึ่งต้องไม่ใช่เพียงแค่มองหรือค้นหาจาก BLOG FASHION, WEBSITE, RUNWAY หรือสื่ิอออนไลน์ต่างๆ ซึ่ง ณ ปัจจุบันมันรวดเร็วทันใจเข้าถึงทุกที่ ฉะนั้นจงอย่าลืมว่า การแต่งตัว หรือ COPY ลุคจากบรรดา FASHION BLOGGER หรือบรรดาเซเลบริตี้ (ที่พึ่งสไตลิสต์ส่วนตัวอีกที) นั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และลุคนั้นๆแปลกตาสำหรับเรา ณ ตอนนี้
เพราะสิ่งที่จะบอกคือ การสนุกสนานกับเรื่องมิกซ์และแมทช์ หรือทดลอง ค้นคว้า และค้นหา สิ่งที่เราชอบให้เหมาะกับตัวเรา เป็นเรื่องของแฟชั่นยุคใหม่ เราเชื่อว่าไม่มีอะไรผิดถูก เป็นความชอบส่วนตัว และอยู่ที่จินตนาการของแต่ละคน หรือมาจากแรงบรรดาลใจส่วนตัว ที่ไม่ต้องพึ่งลุคต่างๆ จากบรรดาเซเลบริตี้ หรือ ซุปตาร์ ซึ่งตอนนี้มันมากเกินไปจนกลายเป็นวัฒนธรรมการค้าทางการตลาดไปแล้ว
ฉะนั้นเรามาสร้าง 'ลายเซ็น' ด้วยตัวเราเอง โดยที่ไม่ต้องพึ่ง 'มือใคร' ช่วยจับปากกา...น่าจะดีกว่า
CHEEZE เล่มนี้ เราได้นำเสนอสไตล์สองสไตล์ซึ่งแตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ความชื่นชอบในแบบฉบับของตนเองที่ทุกคนชื่นชอบไม่เหมือนกัน สำหรับคนสองสไตล์ที่ชอบ 'เยอะ' ด้วยดีเทล การทับซ้อนของเลเยอร์ เครื่องประดับ กับอีกหนึ่งสไตล์ 'น้อย' แต่เรียบ เนี้ยบ คมกริบ ด้วยแพทเทิร์น พื้นผิวและการตัดเย็บ
'MAXIMAL VS MINIMAL'
เพื่อเป็นการนำเสนอสองสไตล์ที่แตกต่าง พร้อมกับการเพิ่มทางเลือกให้กับคนที่กำลังค้นหาตัวตนและความชอบ ว่าเราเป็น หรือชอบ สไตล์แบบไหนกันแน่ และแน่นอนเป็นการเพิ่มเนื้อหาในส่วนของสไตล์แฟชั่นซึ่งมากกว่าเพียงแค่สไตล์ใดสไตล์หนึ่งเท่านั้น รวมถึงหน้าพิเศษ STYLE BATTLE ซึ่งให้คุณได้มองและเลือกว่าสไตล์แฟชั่นแบบใดที่คุณชื่นชอบมากกว่าในแบบของตัวคุณเอง ด้วยไอเท่มที่คล้ายกัน หรือเหมือนกัน แต่ถูกสวมใส่โดยสองบุคคล สองบุคลิก สองสไตล์ รวมทั้งเล่มนี้เราได้น้องนางแบบซึ่งคุณต้อง SURPRISE กับอายุ และความสูงของนางแบบหน้าเก๋ของเรา ทั้งสองคน อยากรู้ว่า SURPRISE อย่างไร ทำความรู้จักกับเธอได้ที่หน้า MODEL STYLE หลังแฟชั่นเซต COME TOGETHER
เราหวังว่าคุณๆคงได้อะไรมากกว่าการมองภาพแฟชั่นจากเล่มนี้ แต่เป็นการเรียนรู้และค้นหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแฟชั่น วัฒนธรรม แรงบันดาลใจ ศิลปะ และอื่นๆที่มากกว่า...แล้วเจอกันใหม่เล่มหน้าครับ
ENJOY WATCHING PEOPLE AND YOUR INSPIRATION AROUND YOURSELF :)
ine.com/
เพื่อนๆๆ ดิฉันจะมาเผยแพร่ คำนิยามเกี่ยวกับลักษณะการแต่งตัวนะคะ


เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่มุนษย์ต้องการในการดำรงชีวิตเพื่อปกปิดร่างกายและให้ความอบอุ่น ความเจริญของมนุษย์ทำให้เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เสื้อผ้ายังบ่งบอกถึงลักษณะของผู้สวมใส่ได้ด้วย เช่น ฐานะ, เชื้อชาติ, ฯลฯ
 
การพัฒนาของแฟชั่นในแต่ละยุคสมัยแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การเมือง, เศรษฐกิจ, ภูมิอากาศ, ฯลฯ ในศตวรรษที่ 20 แฟชั่นโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะปี ค.ศ. 1920 - 1930 หรือเรียกว่ายุค แฟลปเปอร์ (Flapper) ผู้หญิงสวมกระโปรงสั้นเป็นครั้งแรก และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้หญิงต้องออกจากบ้านเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ ดังนั้นเสื้อผ้าที่สวมใส่ย่อมเปลี่ยนไปเพื่อเอื้อประโยชน์ในผู้สวมใส่มากขึ้น กางเกงจึงเป็นที่นิยม ตั้งแต่ยุคแฟลปเปอร์เป็นต้นมา แฟชั่นของโลกได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล เพราะการติดต่อสื่อสารของโลกตะวันตกและตะวันออกเป็นได้เปิดกว้างมากขึ้น มีการไปมาหาสู่กัน แฟชั่นของโลกตะวันตกจึงเข้ามามีบทบาทกับโลกตะวันออก เช่น คนไทยรณรงค์ให้สวมหมวก หรือ ผู้หญิงไทยเลิกสวมโจงกะเบน เพื่อความเป็นสากล
ลักษณะหรือแบบแผนของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของแต่ละยุคสมัย เรียกว่า สไตล์ (Style) แต่ละคนมีสไตล์การแต่งตัวไม่เหมือนกัน เช่น บางคนชอบแต่งตัวสไตล์ พั้งค์ (Punk) หรือเด็กสาวๆชอบสไตล์เซ็กซี่ ที่ฝรั่งเรียกว่า ราซี่ (Racy or Provocative) ส่วนคำว่า เทรนด์ (Trend) คือ แฟชั่นล่าสุด หรือ เทรนด์แฟชั่นที่กำลังเป็นที่นิยม
สไตล์การแต่งตัวสามารถจำแนกได้เป็นประเภทนับไม่ถ้วน ต่อไปนี้เป็นสไตล์เด่นๆ หลักๆ ที่เป็นที่นิยมในอดีตจนปัจจุบัน บางสไตล์ถือว่าล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน บางสไตล์ถือว่าเป็นคลาสสิก เพราะแต่งเมื่อไร ก็ไม่ถูกมองว่าเชยหรือตกรุ่น อย่างไรก็ตามยังมีบางสไตล์ที่เคยล้าสมัยไปแล้วอาจเวียนกลับมาเทรนด์อีกครั้ง
  1. Western / Cowboy or Cowgirl คาวบอย / ตะวันตก
  2. Punk พั้งค์
  3. Preppie เพรปปี้
  4. Futuristic อวกาศ / อนาคต
  5. Hippie ฮิปปี้
  6. Mod ม็อด
  7. Flapper แฟลปเปอร์
  8. Disco ดิสโก้
  9. New Wave นิวเวฟ+
  10. Goth / Gothic โกธิค
  11. Equestrian / Fox Hunting / Jockey จ็อคกี้ / พวกนิยมขี่ม้า
  12. Biker นักซิ่ง / เด็กแว๊น (ของฝรั่ง)
  13. Boho-Chic / Boho-Hippie โบโฮ
  14. โลลิตา สาวน้อยใสๆ สไตล์ญี่ปุ่น
  15. Eveningwear / Black Tie ชุดราตรี
  16. Speed metal สปีดเมทัล
  17. Hip Hop ฮิปฮอป
  18. fashion chestgiant volcanic แฟชั่นหน้าอกยักษ์ภูเขาไฟ

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้า

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์รู้จักทอผ้าใช้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3,000 ปี คือ ตั้งแต่ ยุคหินใหม่ถึงยุคโลหะ เนื่องจากหลักฐานการค้นพบเข็มเย็บผ้าทำด้วยกระดูกสัตว์ ที่บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หินทุบผ้าเปลือกไม้ที่จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้ง ร่องรอยของเศษผ้าและผ้าไหมติดอยู่กับโบราณวัตถุที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี พัสตราภรณ์ประจำชาติไทยโดยแท้นั้น คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน สำหรับสตรี ส่วนบุรุษใช้ผ้านุ่ง 1 ผืน และผ้าคาด 1 ผืนเท่านั้น

ในสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย และสมัยลพบุรี การใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มได้รับแบบอย่าง มาจากอินเดียและจีน จนมาถึงสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้มีผ้าชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้น อีกมากมาย ซึ่ง ชนิดของผ้าจะเป็นเครื่องบ่งชีถึ้งฐานะของคนในสังคมได้ด้วย เพราะเจ้านายและขุนนางส่วนใหญ่ ใช้ผ้าที่สั่งมาจากต่างประเทศนำเข้ามากับเรือสำเภา

สำหรับสมัยรัตนโกสินทร์ในช่วงต้น ๆ นั้น รูปแบบของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการแต่งกายยังคงเลียนแบบมาจากสมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนยังเป็นคนที่เกิดและ มี ชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยา เมื่อมาสร้างบ้านสร้างเมืองใหม่ จึงนำรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีที่ คุ้นเคยกันอยู่มาปฏิบัติ

ในเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมในสมัยอยุธยา เคยมีระเบียบและข้อห้ามของสามัญชน ที่จะใช้เครื่องแต่งกายตามอย่างเจ้านายไม่ได้ แต่เนื่องจากสงครามและความวุ่นวายในการกอบกู้ อิสรภาพจากพม่าทำให้กฎเกณฑ์เหล่านั้น เลือนลางไปบ้าง

ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายใช้บังคับและห้ามไว้ใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า

“ธรรมเนียมแต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักทองนากและใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคดหนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแล หลานขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยได้

และทุกวันนีข้้าราชการผู้น้อย นุ่งห่มมิได้ทำตามธรรมเนียมแต่ก่อน ผู้น้อยก็นุ่งสมปัก ปูม ทองนาก ใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองสังเวียน คาดรัดประคดหนามขนุน แลลูกค้าวาณิช กัน้ ร่มสีผึง้ แล้วแต่งบุตรหลานเล่า ผูกลูกประหลํ่าจำหลักประดับพลอย แลจีกุ้ดั่นประดับพลอยเพชรถมยา ราชาวดี เกินบรรดาศักดิผิดอยู่ แต่นีสื้บไปเมื่อหน้า ให้ข้าราชการและราษฎรทำตามอย่างธรรมเนียม แต่ก่อน …..”

การแต่งการในประเทศเพื่อนบ้าน

การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ
THE NORTHERN EUROPEANS CUSTOMES

ศตวรรษที่ 1 หลังคริสตกาล (The first Centuries A.D.)
ชาวยุโรปตอนเหนือจะถูกเรียกว่า ชาวบาบาเรียน (Northern Barbarians) จะใส่เสื้อผ้า คล้ายกับชาวเปอร์เซีย ส่วนมากเสื้อผ้าจะนำมาใส่เพื่อกันหนาว ใช้หนังแบนมาปกปิดบริเวณขา แล้วใช้เข็มขัดรัดทับไว้เพื่อกันไม่ให้หลุด ส่วนด้านบนก็ใช้ผ้าขนสัตว์ผืนสี่เหลี่ยมพับแล้วคลุมไว้ ส่วนผู้หญิงจะใส่ Tunic ยาวบ้างสั้น บ้าง สวมกระโปรงชั้น ใน (Petticoat) หรือเครื่องรัดสะโพก ใช้ผ้าคลุมไหล่แล้วกลัดด้วยเข็มกลัด คาดเข็มขัดรัดใต้อกที่ชุด tunic ทำให้มีรอยจีบรูด

ตอนที่อยู่ใต้การปกครองของโรมันพบว่า ชาวบาบาเรียนจะใส่กางเกงสวมชุดทูนิคสั้น รัดเข็มขัด เสื้อมีแขนมีเสื้อคลุมไหล่ บางทีฤดูฝนจะใส่หมวก (Cap) ทำจาก Fur ชาวบาบาเรียน จะทอและย้อมผ้าเอง นิยมคลุมไหล่ด้วยผ้าขนสัตว์สี่เหลี่ยมมีสีน้ำเงินและดำ เสื้อและกางเกงจะมี สีสดใส มีทั้งลายทางและเป็นตา จะใช้สีแดงเพื่อให้ดูเด่น ผู้หญิงไว้ผมยาวบ้างก็ถักเปีย ผู้ชายไว้ ผมยาวประบ่า รู้จักการใช้วิกที่ทำจากขนสัตว์ และไหม นิยมย้อมผมสีแดง

เครื่องประดับ มีเข็มกลัด หัวเข็มขัด ปิ่นปักผม สร้อยคอ แถบคอเสื้อ ทำจากโลหะผสม ทองแดง ดีบุก และทองคำ

ในสมัยที่พ้นจากการปกครองของโรมัน ผู้ชายจะใส่ชุดทูนิคสั้น ผู้หญิงใส่ชุดทูนิคยาว สี ขาว แดง เขียว ม่วง มีสายสะพายเป็นสี

รองเท้าจะเป็นรองเท้าแตะธรรมดา Style แบบอินเดียแดงมีสายคาด ถ้าเป็นรองเท้า Boot จะมีสายหนังคาดจนถึงใต้เข่า ผู้ชายสวมหมวกหนังหรือขนสัตว์ ลักษณะเหมือนฝาชี มีสายรัดใต้คาง เหมือนหมวกผู้หญิง แต่ผู้หญิงกลับใช้ผ้าสี่เหลี่ยมพับเหมือนผ้าคลุม Palla คลุมศีรษะและคลุมทั้งทูนิค

ต่อมาในสมัยที่ Byzantine รุ่งเรือง ผู้ชายสวมกางเกงยาว เสื้อทูนิค แขนยาว ตัวสั้น รัดเข็มขัด มีผ้าคลุมที่ไหล่ มีเข็มกลัด ใส่ถุงมือที่เรียกว่า Mitten มีลักษณะไม่มีนิ้ว

ผู้หญิงใส่เสื้อทูนิค 2 ชั้น ชั้น ในแขนยาวทำจากผ้าลินิน ต่อมาเรียกว่า lingerie ชั้น นอก ทูนิคยาวตรง ทำจากผ้าที่หรูหรามีแขนบาน ประดับด้วยทอง หิน มีเสื้อ คลุมไหล่ ไม่มีแขน (Mantle) มีเข็มกลัดไว้ด้านหน้า เวลาเข้าโบสถ์จะมีผ้าคลุมศีรษะ

เครื่องประดับจะทำจากทอง เงิน มุก และหินสี เครื่องรัดชั้น ใน (Girdles) จะตกแต่ง ด้วยทอง และเพชรพลอย

ในอนาคตเราแต่งกายยังไง มาดูกัน

แนวโน้มการแต่งกายในอนาคต ในโลกของอนาคตนั้น กล่าวกันว่าเป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์ความเจริญในด้าน อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีจะมีบทบาทมากดังนั้น แนวโน้มของการแต่งกายในอนาคต ควรมี การวิเคราะห์จากองค์ประกอบ ต่อไปนี้
  1. วิเคราะห์จากสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึง อาชีพ ฤดูกาล เพศ วัย บุคลิก นิสัย เศรษฐกิจ การเมือง ค่านิยม เวลา ความสะดวกสบายในการสวมใส่ และการ พกพา กาลเทศะ โอกาส การดูแลรักษา คุณภาพ ราคา ความนิยม และระดับของผู้บริโภค
     
  2. จากการวิเคราะห์ของผู้ทีมีประสบการณ์ ได้วิเคราะห์ว่าระดับราคาสินค้ามี ผลต่อการเลือกใช้ของผู้บริโภค เช่น
    - สินค้าราคาสูงสุด ผู้บริโภคเป็นคนในสังคมชั้น สูง มีรายได้สูง เจ้านายใน ราชสำนัก ซึงเสื้อผ้าจะเป็นแบบไม่โลดโผน สีเรียบ สง่างาม ดูไม่ล้าสมัย วัสดุตกแต่งอย่างดี
    - สินค้าราคาสูง เป็นสินค้าเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมดังเดิมประจำท้องถิ่น ผู้บริโภคเป็นผู้มีรายได้สูง สังคมชั้นสูง พึงพอใจกับการอนุรักษ์ของครั้งเดิมเสือ้ผ้าจะมีแบบที เน้นเอกลักษณ์เฉพาะ มีความประณีตด้วยฝีมือและสีสัน
    - สินค้าราคาปานกลาง ผู้บริโภคเป็นคนในสังคมชั้น กลาง เป็นข้าราชการมี รายได้พอตัว สินค้าประเภทนี้ แบบจำซ้ำกันมาก ทั้งวัสดุตกแต่ง ฝีมือไม่ด้อยมีความประณีต
    - สินค้าราคาถูก ผู้บริโภคมีรายได้จำกัด ส่วนใหญ่เป็นคนส่วนมากของ ประชากร เสื้อผ้ามีลักษณะคุณภาพพอใช้ทั้ง วัสดุตกแต่ง เนื้อผ้า และราคา รูปแบบไม่มีเฉพาะ บุคคล ไม่จำกัดขนาด ใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย มีให้เลือกใช้หลายโอกาส
     
  3. รูปแบบขึ้น อยู่กับพฤติกรรมการแต่งกายของมนุษย์ ซึงมนุษย์มีพฤติกรรม การแต่งกายทีแตกต่างกัน หลากหลายตามสถานที โอกาส เวลา นักออกแบบจึงได้กำหนด แบบและประเภทของการใช้เสื้อผ้าในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น

    - ชุดกลางวัน มีชุดทำงาน ชุดตรวจการ ชุดเดินทาง
    - ชุดบ่ายถึงค่ำ แบบไม่หรูหรา ไม่เป็นพิธีการ
    - ชุดราตรี เป็นแบบพิธีการและไม่เป็นพิธีการ
    - ชุดสูท มีการใช้ตามสำนักงานทีมีเครื่องปรับอากาศ
    - ชุดกันหนาว
    - ชุดแต่งงาน แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละชาติ
    - ชุดคลุมท้อง เลือกตามความเหมาะสมของผู้สวมและฐานะ
    - ชุดนอน ควรมีความสบายในการสวมใส่
    - ชุดกีฬา ให้มีความเหมาะสมกับประเภทของกีฬา
    - ชุดลำลอง สวมง่าย สบาย ๆ เหมาะสมกับสถานที่
สำหรับความคิดเห็นของผู้เรียบเรียงแล้ว ในการวิเคราะห์แนวโน้มการแต่งกาย ในอนาคตคาดว่ามีลักษณะ ดังนี้
  1. รูปแบบของเสื้อผ้ามีความเหมาะสมกับรูปร่างและบุคลิกของผู้สวมใส่เพื่อ สร้างความมัน ใจให้ผู้สวมใส่แสดงถึงความมีรสนิยมทีดีในการแต่งกาย
  2. เสื้อผ้าควรมีสัดส่วน (Proportion) ทีเหมาะสมกับรูปร่างของผู้สวมใส่ซึง จะช่วยเสริมในส่วนทีเป็นข้อบกพร่องของรูปร่างผู้สวมใสได้
  3. ลักษณะของรูปแบบเสื้อผ้าควรเรียบง่ายโดยเน้นทีเนื้อผ้า สี ดูแลรักษา ง่าย และสวมใส่สบาย ไม่ควรตกแต่งมากไม่ล้าสมัยง่าย
  4. ราคาไม่สูงมาก ถ้าราคาสูงควรเน้นทีคุณภาพของผ้าและรูปแบบมากกว่า การใช้ วัสดุตกแต่งทีฟุ่มเฟือย
  5. รูปแบบของเสื้อผ้าไม่ควรเป็นแบบทีใช้ผ้าสิ้น เปลืองมาก
  6. สามารถสวมใส่สลับเปลี่ยนกันได้หลายโอกาส เช่น เลือกใส่กับเสื้อ กระโปรง หรือกางเกงได้หลายตัว โดยให้มีความเหมาะสมกับโอกาสและสถานที่
สังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้คนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมีความ เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ทีเน้นความเจริญทางด้านวัตถุ มีการติดต่อรับ ข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว สังคมมีการแข่งขันกันมากขึ้น การปฏิบัติภารกิจทั้งในบ้านและนอก บ้านมีความจำเป็นต้องรวดเร็ว ผู้หญิงปัจจุบันนี้ต้องออกทำงานนอกบ้าน มีตำแหน่งการงานสูง ต้องเข้าสังคม ดังนั้น แนวโน้มการแต่งกายในอนาคตน่าจะเป็นลักษณะ แต่งอย่างไรให้ดูมี รสนิยม บุคลิกดี รวดเร็ว ดูแลรักษาง่าย สวมใส่สบาย พกพาสะดวก ถูกต้องตามกาลเทศะ จากตัวอย่างทีได้นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพราะมีอีก มากมายหลากหลายวิธี เพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้
  

ลักษณะของการแต่งกายลักษณะต่างๆ

การแต่งกายชาวเอเซีย
      เนื่องจากชาวกัมพูชา มีความสัมพันธ์กับไทยมาก่อน จึงมีลักษณะศิลปะเหมือนกับไทย เช่น ที่จังหวัด สุโขทัยมีศิลปะสมัยขอมอยู่มาก เช่น การทำตะกร้าหวาย เครื่องจักสาน เครื่องไม้ เครื่องเงิน ทองแดง ทอผ้าพื้น เมือง เรียกผ้าซัมปอต และผ้าปูม คนไทยสมัยนี้ก็ยังนิยมอยู่

สิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐตั้งอยู่บนเกาะเล็กปลายแหลมมาลายู มีพื้น ที่ราว 616 ตาราง กิโลเมตร พลเมืองจะมีหลายชนชาติ เช่น จีน มลายู อินเดีย และยุโรป เพราะเป็นเมืองท่าที่สำคัญ การแต่งกายจึงแตกต่างกับชนชาติที่ตนเข้าไปอยู่
ชนเผ่าเดิมของฟิลิปปินส์ คือ นิโกรโตส์ (Negritos) อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย ต่อมาชนเผ่าอินโดนีเซียได้เข้ามาอยู่ในประเทศนี้ เป็นพวกเชื้อชาติมองโมลอยด์ ผสมคอเคเซียน ที่มีเหลืออยู่ในฟิลิปปินส์ ได้แก่ พวกอีลองโกทส์ ต่อมาชนเผ่ามาเลย์ (Melags) เข้ามาอาศัยอยู่ พวกมาเลย์ได้มีการติดต่อทางวัฒนธรรมกับพวกอินเดีย จีน อาหรับมาแล้ว จึงมีการปกครอง กฎหมาย ศาสนา วรรณคดี ศิลป วิทยาศาสตร์เป็นของตนเอง พวกมาเลย์อพยพเข้ามาฟิลิปปินส์ หลายครั้ง ครั้งที่ 2 ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของพวกตากาล็อค วิสายัน อีโกกาโน ปอมปังโก และพวกฟิลิปปินส์ ที่นับถือศาสนาคริสต์

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์รู้จักทอผ้าใช้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3,000 ปี คือ ตั้งแต่ ยุคหินใหม่ถึงยุคโลหะ เนื่องจากหลักฐานการค้นพบเข็มเย็บผ้าทำด้วยกระดูกสัตว์ ที่บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หินทุบผ้าเปลือกไม้ที่จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้ง ร่องรอยของเศษผ้าและผ้าไหมติดอยู่กับโบราณวัตถุที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี พัสตราภรณ์ประจำชาติไทยโดยแท้นั้น คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน สำหรับสตรี ส่วนบุรุษใช้ผ้านุ่ง 1 ผืน และผ้าคาด 1 ผืนเท่านั้น

ในสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย และสมัยลพบุรี การใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มได้รับแบบอย่าง มาจากอินเดียและจีน จนมาถึงสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้มีผ้าชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้น อีกมากมาย ซึ่ง ชนิดของผ้าจะเป็นเครื่องบ่งชีถึ้งฐานะของคนในสังคมได้ด้วย เพราะเจ้านายและขุนนางส่วนใหญ่ ใช้ผ้าที่สั่งมาจากต่างประเทศนำเข้ามากับเรือสำเภา

สำหรับสมัยรัตนโกสินทร์ในช่วงต้น ๆ นั้น รูปแบบของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการแต่งกายยังคงเลียนแบบมาจากสมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนยังเป็นคนที่เกิดและ มี ชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยา เมื่อมาสร้างบ้านสร้างเมืองใหม่ จึงนำรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีที่ คุ้นเคยกันอยู่มาปฏิบัติ

ในเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมในสมัยอยุธยา เคยมีระเบียบและข้อห้ามของสามัญชน ที่จะใช้เครื่องแต่งกายตามอย่างเจ้านายไม่ได้ แต่เนื่องจากสงครามและความวุ่นวายในการกอบกู้ อิสรภาพจากพม่าทำให้กฎเกณฑ์เหล่านั้น เลือนลางไปบ้าง

ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายใช้บังคับและห้ามไว้ใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า

“ธรรมเนียมแต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักทองนากและใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคดหนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแล หลานขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยได้

และทุกวันนีข้้าราชการผู้น้อย นุ่งห่มมิได้ทำตามธรรมเนียมแต่ก่อน ผู้น้อยก็นุ่งสมปัก ปูม ทองนาก ใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองสังเวียน คาดรัดประคดหนามขนุน แลลูกค้าวาณิช กัน้ ร่มสีผึง้ แล้วแต่งบุตรหลานเล่า ผูกลูกประหลํ่าจำหลักประดับพลอย แลจีกุ้ดั่นประดับพลอยเพชรถมยา ราชาวดี เกินบรรดาศักดิผิดอยู่ แต่นีสื้บไปเมื่อหน้า ให้ข้าราชการและราษฎรทำตามอย่างธรรมเนียม แต่ก่อน …..”

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการนิยมนุ่งแพรจีบ แบบตะวันตก ทำให้บรรดาเจ้านายฝ่ายในตื่นตัวกันมากในการตัดเสื้อแบบยุโรป สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ซึ่งในขณะนั้น พระอัครมเหสีก็ทรงเป็นพระธุระในฉลองพระองค์มากขึ้น ได้ทรง ดัดแปลงพระที่นั่งทรงธรรมในสวนศิวาลัยเป็นโรงเย็บผ้าส่วนพระองค์ โดยโปรดให้ ม.จ.ไขศรี ปราโมช เป็นหัวหน้า มีหน้าที่ควบคุมการเย็บ ตลอดจนรับจ้างเจ้านายและผู้ที่อยู่ในพระราชฐาน ด้วย โรงเย็บผ้านั้น ดำเนินการเป็นกิจจะลักษณะ มีการจ้างครูฝรั่งมาเป็นช่างและสอนอยู่ใน โรงงานด้วย สำหรับการแต่งกายของข้าราชสำนักนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชวงศ์และขุน นางนุ่งผ้าสีม่วงน้ำเงินแก่แทนสมปักและสวมเสื้อต่าง ๆ ตามเวลา ผ้าม่วงสีน้ำเงินเข้มนีสั้่งมาจาก เมืองจีนและ ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น โดยให้ข้าราชการนุ่งห่มเป็นยศแทนสมปัก

จากประกาศเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การแต่งกายในรัชกาลที่ 1 นั้น ได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดใน ระยะแรก ๆ เท่านั้น และเมื่อหลังรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา กฎเกณฑ์การใช้ผ้าระหว่างกลุ่มเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ไม่มีใครปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทุกคนสามารถใช้ผ้าชนิดใดก็ได้ ถ้า มีเงินพอที่จะซื้อหามาได้ และเป็นเช่นนั้น มาจนถึงทุกวันนี้

ผ้าที่นิยมใช้ในราชสำนักไทยรัตนโกสินทร์มีหลายชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผ้ากรองทอง ผ้าตาด ผ้าปูม ผ้าสมปัก ผ้าเขียนทอง ผ้าลาย ผ้ายก ผ้าหนามขนุน ผ้าอุทุมพร ผ้าม่วง ผ้าเยียรบับ ผ้ามัสหรู่ ผ้าปัสตู ผ้าลายสอง ผ้าสักหลาด ผ้ากุศราช ผ้ารัตนกัมพล ผ้าส่าน ผ้าโหมด ผ้าอัตตะลัด ผ้าสุจหนี่ ผ้าเหล่านี้มิได้ใช้เป็นแต่เพียงเครื่องแต่งกายเท่านั้น บางครั้ง ยังใช้ตกแต่งสถานที่ โดยใช้เป็นม่าน เป็นผ้าปูที่นอน ผ้าบุเก้าอี้ หรือใช้ทำฉัตรด้วย ผ้าบางชนิดนี้ เป็นผ้าสำคัญในพระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้น สูง ลักษณะการใช้สอยจะ กำหนดเฉพาะลงไปว่า ผ้าชนิดใดใช้ในกิจการใด

ดังที่กล่าวมาว่าผ้าเหล่านีส้วนใหญ่เป็นผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งสิน้ น่าจะเป็น เพราะจากการที่อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดในเอเชีย ชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน จะส่งสินค้าไปยุโรป อินเดีย ก็จะมาที่อยุธยา ส่วนอินเดียจะเอาสินค้ามาขายและซื้อสินค้าไปขายก็มาที่อยุธยา และผู้ที่มีโอกาสได้ซื้อ ขายผ้าเหล่านีก้็คือ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหลายนั่นเอง จึงมีความนิยมที่ จะนำผ้าเหล่านีซึ้่งจัดเป็นผ้าที่สวยงามวิจิตรมีราคาแพงและหายากมาใช้ในราชสำนัก และใน สมัย รัตนโกสินทร์ก็สืบทอดความนิยมนีม้ าด้วย