วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์รู้จักทอผ้าใช้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3,000 ปี คือ ตั้งแต่ ยุคหินใหม่ถึงยุคโลหะ เนื่องจากหลักฐานการค้นพบเข็มเย็บผ้าทำด้วยกระดูกสัตว์ ที่บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หินทุบผ้าเปลือกไม้ที่จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้ง ร่องรอยของเศษผ้าและผ้าไหมติดอยู่กับโบราณวัตถุที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี พัสตราภรณ์ประจำชาติไทยโดยแท้นั้น คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน สำหรับสตรี ส่วนบุรุษใช้ผ้านุ่ง 1 ผืน และผ้าคาด 1 ผืนเท่านั้น

ในสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย และสมัยลพบุรี การใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มได้รับแบบอย่าง มาจากอินเดียและจีน จนมาถึงสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้มีผ้าชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้น อีกมากมาย ซึ่ง ชนิดของผ้าจะเป็นเครื่องบ่งชีถึ้งฐานะของคนในสังคมได้ด้วย เพราะเจ้านายและขุนนางส่วนใหญ่ ใช้ผ้าที่สั่งมาจากต่างประเทศนำเข้ามากับเรือสำเภา

สำหรับสมัยรัตนโกสินทร์ในช่วงต้น ๆ นั้น รูปแบบของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการแต่งกายยังคงเลียนแบบมาจากสมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนยังเป็นคนที่เกิดและ มี ชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยา เมื่อมาสร้างบ้านสร้างเมืองใหม่ จึงนำรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีที่ คุ้นเคยกันอยู่มาปฏิบัติ

ในเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมในสมัยอยุธยา เคยมีระเบียบและข้อห้ามของสามัญชน ที่จะใช้เครื่องแต่งกายตามอย่างเจ้านายไม่ได้ แต่เนื่องจากสงครามและความวุ่นวายในการกอบกู้ อิสรภาพจากพม่าทำให้กฎเกณฑ์เหล่านั้น เลือนลางไปบ้าง

ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายใช้บังคับและห้ามไว้ใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า

“ธรรมเนียมแต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักทองนากและใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคดหนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแล หลานขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยได้

และทุกวันนีข้้าราชการผู้น้อย นุ่งห่มมิได้ทำตามธรรมเนียมแต่ก่อน ผู้น้อยก็นุ่งสมปัก ปูม ทองนาก ใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองสังเวียน คาดรัดประคดหนามขนุน แลลูกค้าวาณิช กัน้ ร่มสีผึง้ แล้วแต่งบุตรหลานเล่า ผูกลูกประหลํ่าจำหลักประดับพลอย แลจีกุ้ดั่นประดับพลอยเพชรถมยา ราชาวดี เกินบรรดาศักดิผิดอยู่ แต่นีสื้บไปเมื่อหน้า ให้ข้าราชการและราษฎรทำตามอย่างธรรมเนียม แต่ก่อน …..”

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการนิยมนุ่งแพรจีบ แบบตะวันตก ทำให้บรรดาเจ้านายฝ่ายในตื่นตัวกันมากในการตัดเสื้อแบบยุโรป สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ซึ่งในขณะนั้น พระอัครมเหสีก็ทรงเป็นพระธุระในฉลองพระองค์มากขึ้น ได้ทรง ดัดแปลงพระที่นั่งทรงธรรมในสวนศิวาลัยเป็นโรงเย็บผ้าส่วนพระองค์ โดยโปรดให้ ม.จ.ไขศรี ปราโมช เป็นหัวหน้า มีหน้าที่ควบคุมการเย็บ ตลอดจนรับจ้างเจ้านายและผู้ที่อยู่ในพระราชฐาน ด้วย โรงเย็บผ้านั้น ดำเนินการเป็นกิจจะลักษณะ มีการจ้างครูฝรั่งมาเป็นช่างและสอนอยู่ใน โรงงานด้วย สำหรับการแต่งกายของข้าราชสำนักนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชวงศ์และขุน นางนุ่งผ้าสีม่วงน้ำเงินแก่แทนสมปักและสวมเสื้อต่าง ๆ ตามเวลา ผ้าม่วงสีน้ำเงินเข้มนีสั้่งมาจาก เมืองจีนและ ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น โดยให้ข้าราชการนุ่งห่มเป็นยศแทนสมปัก

จากประกาศเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การแต่งกายในรัชกาลที่ 1 นั้น ได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดใน ระยะแรก ๆ เท่านั้น และเมื่อหลังรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา กฎเกณฑ์การใช้ผ้าระหว่างกลุ่มเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ไม่มีใครปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทุกคนสามารถใช้ผ้าชนิดใดก็ได้ ถ้า มีเงินพอที่จะซื้อหามาได้ และเป็นเช่นนั้น มาจนถึงทุกวันนี้

ผ้าที่นิยมใช้ในราชสำนักไทยรัตนโกสินทร์มีหลายชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผ้ากรองทอง ผ้าตาด ผ้าปูม ผ้าสมปัก ผ้าเขียนทอง ผ้าลาย ผ้ายก ผ้าหนามขนุน ผ้าอุทุมพร ผ้าม่วง ผ้าเยียรบับ ผ้ามัสหรู่ ผ้าปัสตู ผ้าลายสอง ผ้าสักหลาด ผ้ากุศราช ผ้ารัตนกัมพล ผ้าส่าน ผ้าโหมด ผ้าอัตตะลัด ผ้าสุจหนี่ ผ้าเหล่านี้มิได้ใช้เป็นแต่เพียงเครื่องแต่งกายเท่านั้น บางครั้ง ยังใช้ตกแต่งสถานที่ โดยใช้เป็นม่าน เป็นผ้าปูที่นอน ผ้าบุเก้าอี้ หรือใช้ทำฉัตรด้วย ผ้าบางชนิดนี้ เป็นผ้าสำคัญในพระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้น สูง ลักษณะการใช้สอยจะ กำหนดเฉพาะลงไปว่า ผ้าชนิดใดใช้ในกิจการใด

ดังที่กล่าวมาว่าผ้าเหล่านีส้วนใหญ่เป็นผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งสิน้ น่าจะเป็น เพราะจากการที่อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดในเอเชีย ชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน จะส่งสินค้าไปยุโรป อินเดีย ก็จะมาที่อยุธยา ส่วนอินเดียจะเอาสินค้ามาขายและซื้อสินค้าไปขายก็มาที่อยุธยา และผู้ที่มีโอกาสได้ซื้อ ขายผ้าเหล่านีก้็คือ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหลายนั่นเอง จึงมีความนิยมที่ จะนำผ้าเหล่านีซึ้่งจัดเป็นผ้าที่สวยงามวิจิตรมีราคาแพงและหายากมาใช้ในราชสำนัก และใน สมัย รัตนโกสินทร์ก็สืบทอดความนิยมนีม้ าด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น